สระมรกต

สระมรกต
สระมรกต

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ติดตามการจดทะเบียนนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้าน





นางมาลินี ทองเชิญ หัวหน้า กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนพร้อมคณะฯติดตามสนับสนุนการจดทะเบียนนิติบุคคลและการเพิ่มทุนของกองทุนหมู่บ้าน ณ ห้องพัฒนาชุมชนอำเภอคลองท่อม มีนายนราธิป ศรีสุขสมวงศ์พัฒนาการอำเภอคลองท่อมให้การต้อนรับ

กิจกรรมวันเข้าพรรษา


นายนราธิป ศรีสุขสมวงศ์พัฒนาการอำเภอพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอคลองท่อมและคณะครูอาจารย์นักเรียนโรงเรียนบ้านเขาสามหน่วยร่วมทำบุญถวายเทียนพรรษา ณ สำนักสงฆ์เขาสามหน่วย ตำบลพรุดินนา




อำเภอคลองท่อม

แนะนำอำเภอคลองท่อม จังหวัด กระบี่ คำขวัญอำเภอ “ สระมรกตขึ้นชื่อ นามระบือแหล่งลูกปัด งามเด่นชัดน้ำตกร้อน ชื่อกระฉ่อนนกแต้วแล้ว"ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ หมู่ที่ 2 ตำบลคลองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ข้อมูลทั่วไป1.ประวัติความเป็นมา อำเภอคลองท่อมก่อน พ.ศ. 2430 พื้นที่ซึ่งเป็นอำเภอคลองท่อมในปัจจุบันนี้เป็นป่าปลายเขตแดนเมืองนครศรีธรรมราช เพิ่งแยกจากนครศรีธรรมราชมาเป็นอำเภอหนึ่งอยู่ในความปกครองของจังหวัดกระบี่ ประมาณ 60 ปีเศษ โดยถือเอาคลองสินปุนเป็นเขต พลเมืองส่วนมากอพยพมาจากจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรังจังหวัดสตูล และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้น ก่อนประกาศใช้การปกครองหัวเมืองแบบเทศาภิบาล ท้องที่อำเภอคลองท่อมมีเขต การปกครองเป็น 3 เขต เรียกว่า“แขวง” คือ แขวงคลองท่อม แขวงพรุดินนา แขวงคลองพน โดยแต่ละแขวงมีนายแขวงปกครองและดูแลป้องกันภัยให้แก่ราษฎรได้ปกครองในเขตของตน เขตท้องที่ตามสภาพปัจจุบันดังนี้1. แขวงคลองท่อม มีตำบลคลองท่อมใต้ คลองท่อมเหนือ ห้วยน้ำขาว นายแขวงหรือ นายบ้านคนสุดท้ายชื่อหมื่นรามณรงค์2. แขวงพรุดินนา มีตำบลพรุดินนาและเพหลา นายแขวงคนสุดท้ายชื่อหลวงรามเดช3. แขวงคลองพน มีตำบลคลองพน ทรายขาว นายแขวงคนสุดท้าย ชื่อ หลวงฤทธิธานีในเขตแขวงหนึ่ง ๆ มีนายอากร เจ้าหน้าที่เป็นเงินผลประโยชน์จากอาคารค่านา สวน การพนัน สุรา ฝิ่น และอื่น ๆ เมื่อประมาณปี 2440 ได้เปลี่ยนการปกครองจากเดิม โดยยุบแขวงต่าง แล้ว หน่วยการปกครองเป็น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดท้องที่สามแขวงนี้ ได้ร่วมกันจัดตั้งเป็นอำเภอขึ้นหนึ่งอำเภอ ชื่อว่า “อำเภอคลองพน” ที่หมู่ที่ 1 ตำบลคลองพน ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งในท้องที่ตำบลคลองท่อมใต้ บริเวณวัดคลองท่อมในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2448 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่ที่ปากคลองท่อมหมู่ที่ 2 ตำบลคลองท่อมใต้ โดยใช้ชื่อว่าที่ว่าการอำเภอคลองพน จนถึงปี พ.ศ. 2460 เปลี่ยนชื่อเป็น ที่ว่าการอำเภอคลองท่อม ตามชื่อคลองจนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2487 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอคลองท่อม มาตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม หมู่ที่ 2 ตำบลคลองท่อมใต้ โดยนายเพิ่ม ศรีเทพ เป็นผู้บริจาคที่ดิน จำนวน 25 ไร่ สาเหตุที่ย้ายที่ว่าการอำเภอจากตำบลคลองพนมาตั้งที่ตำบลคลองท่อมใต้ก็เพื่อให้ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเป็นศูนย์กลางและสะดวกในการเดินทางมาติดต่อราชการของประชาชนจากทุกตำบลในพื้นที่ต่อมาปี 2538 นายบัญชา ถาวรานุรักษ์ ซึ่งดำรงตำแหน่ง ปลัดจังหวัดกระบี่ในขณะนั้น ได้พิจารณาเห็นว่าบริเวณที่ว่าการอำเภอคลองท่อมค่อนข้างคับแคบ และตัวอาคารมีสภาพเก่าชำรุด ไม่สะดวกต่อการให้บริการแก่ประชาชน โดยเฉพาะในอนาคตซึ่งความเจริญจะขยายตัวมากยิ่งขึ้น ด้วยวิสัยทัศน์ดังกล่าวจึงได้มอบหมายให้นายเฐียร บุณยเกียรติ นายอำเภอคลองท่อมขณะนั้น ประสานงานเพื่อสร้างที่ว่าการอำเภอคลองท่อมแห่งใหม่ ในที่สาธารณประโยชน์ทุ่งหนองเป็ดน้ำ ริมถนนเพชรเกษม หมู่ที่ 9 ตำบลคลองท่อมใต้ เนื้อที่ 37 ไร่ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างจาก กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นเงิน 6,595,000 บาท เริ่มก่อสร้าง เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2539 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2540 และได้ถือฤกษ์มงคล วันที่ 1 พฤษภาคม 2543 เวลา 14.19 น. ประกอบพิธีเปิดที่ว่าการอำเภอคลองท่อม โดย ฯพณฯพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในขณะนั้นเป็นประธาน2.เนื้อที่/พื้นที่ 1,042.531 ตร.กม. 3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป มีฝนชุกเกือบตลอดปี ประมาณปีละ 8 เดือน
ข้อมูลการปกครอง 1.ตำบล.......7.... แห่ง 2.เทศบาล..2.....แห่ง3.หมู่บ้าน....68...หมู่บ้าน 4.อบต........7 ... แห่ง
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ 1.อาชีพหลัก ได้แก่ 1.1 ปลูกยางพารา เนื้อที่เพาะปลูกประมาณ 6,371 ไร่ 1.2 ปลูกปาล์มน้ำมัน เนื้อที่เพาะปลูกประมาณ 2,811 ไร่1.3 ปลูกกาแฟ เนื้อที่เพาะปลูกประมาณ ไร่2.อาชีพเสริม ได้แก่ 2.1 ขนมกาละแม เครื่องแกง ถั่วเคลือบโอวันติน ของกลุ่มแม่บ้านตำบลพรุดินนา2.2 กะปิ ของกลุ่มแม่บ้านน้ำร้อน ตำบลห้วยน้ำขาว2.3 เสื่อ ของกลุ่มแม่บ้าน ตำบลคลองท่อมใต้ของกลุ่มแม่บ้านตำบลคลองท่อมใต้2.5 สุราขาว กลุ่มแม่บ้าน ตำบลคลองพน2.6 เสื้อสกรีนที่ระลึก กลุ่มแม่บ้าน ตำบลคลองท่อมเหนือ2.7 ปลาเค็ม ปลาหมึกแห้ง กลุ่มแม่บ้านตำบลทรายขาวด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ 1. ป่าไม้2. ป่าชายเลนด้านประชากร ตามทะเบียนราษฎร์1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 59,619 คน(จปฐ=48,412)2.จำนวนประชากรชาย รวม 30,367 คน(จปฐ.24,832)3.จำนวนประชากรหญิง รวม 29,252 คน(จปฐ.23,580

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553